Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
งานบริหารทั่วไป
กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
กลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ
บุคลากรท้องถิ่นอำเภอ
กลุ่มงานบริการสาธารณะท้องถิ่นและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ
ข่าวสารราชการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
หนังสือราชการ สถ.จ.
คู่มือประชาชนและคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน สถจ.
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องการการทุจริต
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
สถิติการรับเรื่องร้องเรียน
ผลการแก้ไขปัญหา และมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2567
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
facebook สถจ.ยโสธร









หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย
Responsive image
แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย อยู่ห่างจากตัวเมืองยโสธร 25 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-คำเขื่อนแก้ว-อุบลราชธานี (ทางหลวงหมายเลข 23) จะมีทางแยกขวาเข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร
สิ่งสำคัญและปูชนียสถานที่น่าสนใจมีดังนี้
  • พระพุทธรูปใหญ่ เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือย มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐ ปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี
  • เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน เดิมเป็นเจดีย์เก่า มีอายุมากกว่า 200 ปี ในปี พ.ศ. 2498 ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดียมาบรรจุไว้
  • รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างโดยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิง ในวันสงกรานต์ของทุกปีมีประชาชนในท้องถิ่นมาสรงน้ำเป็นจำนวนมาก
  • พิพิธภัณฑ์ของโบราณ เป็นสถานที่รวบรวมของโบราณซึ่งเก็บและขุดได้จากดงเมืองเตยเมืองเก่าสมัยขอม ในพิพิธภัณฑ์นี้มีเตียงบรรทมเจ้าเมือง (เป็นศิลา) และศิลาจารึก สันนิษฐานว่าเป็นอักษรขอมโบราณ
  • ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ-ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จากข้อความที่พบในจารึกของกษัตริย์เจนละ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ ในช่วงเวลานั้น บริเวณดงเมืองเตย รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงเคยเป็นเมืองที่มีชื่อว่า “ศังขะปุระ” มีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองในปกครองของอาณาจักรเจนละ ซึ่งก็คืออาณาจักรขอมในสมัยต่อมาที่แผ่อำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ในช่วงเวลาดังกล่าว
โพสเมื่อ : 16 มิ.ย. 2560